top of page

การใช้ตัวย่อของหน่วยที่ไม่ควรมองข้าม


ในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อการจาหน่ายในประเทศหรือส่งออกก็ตาม กฎระเบียบข้อบังคับอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตจะละเลยไม่ได้คือ กฎเรื่องฉลาก (Label Law) ซึ่งครอบคลุมถึง ชื่อผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบที่สำคัญ คุณค่าทางโภชนาการ (ถ้าเป็นอาหาร) วิธีการใช้ น้าหนักหรือปริมาตรบรรจุ บริษัทและประเทศที่ผลิต เป็นต้น หน่วยของน้าหนักหรือปริมาตรบรรจุนิยมใช้ตัวย่อเพื่อให้สั้น สอดคล้องกับเนื้อที่ของฉลากซึ่งอาจมีจากัด การใช้ตัวย่อของหน่วยเป็นสิ่งที่ดูเหมือนง่ายและไม่ยุ่งยาก เพราะผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบฉลาก และผู้บริโภคส่วนใหญ่จะคุ้นเคยเข้าใจกันดีอยู่แล้ว แต่เรื่องง่ายๆ นี้มักเกิดข้อผิดพลาดเสมอ และนาไปสู่ความเข้าใจผิดได้ ดังตัวอย่างที่จะเล่าให้ฟังดังนี้ ณ ประเทศอังกฤษ ในซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง มีชายนายหนึ่งกาลังพิจารณาอ่านฉลากของขวดซอสอย่างขมักเขม้น สักครู่หนึ่งเขาก็หยิบขวดซอสซึ่งพิมพ์ปริมาณบรรจุที่ฉลากไว้ว่า CONTENT 237 ML ไปหาผู้จัดการของร้าน แล้วถามว่า “คุณคิดว่าซอสขวดนี้จะจุได้ 237 ล้านลิตร เชียวหรือครับ?” ผู้จัดการยืนงงอยู่สักครู่แล้วก็ถึงบางอ้อ เลยรีบขอโทษในความผิดพลาดอันเนื่องจากการใช้ตัวย่อของหน่วยผิด เพราะความจริงฉลากของซอสขวดดังกล่าวต้องพิมพ์ CONTENT 237 mL ซึ่งหมายความว่าความจุของซอสในขวดเป็น 237 มิลลิลิตร บทความนี้ ผู้เขียนใคร่ขอนาเสนอสาระของการใช้ตัวย่อของหน่วยที่ปรากฏอยู่ที่ฉลากของสินค้า โดยจะครอบคลุมตั้งแต่ระบบของหน่วย ตัวย่อของหน่วย และหลักการใช้ตัวย่อของหน่วย ระบบของหน่วยแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบเมตริกและระบบอังกฤษ ในปัจจุบันระบบเมตริกได้รับความนิยมอย่างสูงแทบทุกประเทศ จนถือได้ว่าเป็นหน่วยสากลระหว่างชาติ และได้รับการกำหนดไว้ใน System International d’ Unites หรือรู้จักกันในชื่อสั้นๆ ว่าหน่วย SI ส่วนหน่วยระบบอังกฤษนั้น ในปัจจุบันยังคงนิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ แม้ว่าจะมีการแนะนาให้เปลี่ยนมาใช้ระบบเมตริกตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2535 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก สินค้าที่จาหน่ายในสหรัฐอเมริกายังมีการใช้หน่วยระบบอังกฤษอยู่อย่างมาก และบางครั้งทาความสับสนให้กับผู้บริโภคที่มิใช่คนอเมริกันอย่างเช่นพวกเรา

การเปลี่ยนหน่วยระบบอังกฤษมาเป็นระบบเมตริก เช่น ความจุที่เคยเป็นออนซ์ (ounce) เปลี่ยนเป็นมิลลิลิตร (millilitre) ความจุที่เคยเป็นควอท (quart) เปลี่ยนเป็นลิตร (litre) น้าหนักจากปอนด์ (pound) เปลี่ยนเป็นกรัม (gram) หรือ กิโลกรัม (kilogram) ความยาวจากนิ้ว(inch) หรือ หลา(yard) เปลี่ยนเป็นเซนติเมตร(centimetre) หรือ กิโลเมตร(kilometre)

หลักการใช้ตัวย่อของหน่วยในภาษาอังกฤษ 1.     ปริมาณบรรจุที่นิยมใช้ คือ ปริมาตรเป็นลิตร (litre) ใช้ตัวย่อว่า L หรือ l ก็ได้ น้าหนักเป็นกรัม (gram) ใช้ตัวย่อว่า g 2.     อักษรนาหน้าหน่วย บ่งบอกถึงจานวนเท่า เช่น มิลลิ (milli) ใช้ตัวย่อว่า m หมายถึง 1/1000 เท่า กิโล (kilo) ใช้ตัวย่อว่า k หมายถึง 1000 เท่า เมกกะ (mega) ใช้ตัวย่อว่า M หมายถึง 1,000,000 เท่า มิลลิลิตร (millilitre) ต้องใช้ตัวย่อว่า ml หรือ mL เท่ากับ 1/1000 ลิตร กิโลกรัม (kilogram) ต้องใช้ตัวย่อว่า kg เท่ากับ 1000 กรัม เมกกะลิตร (megalitre) ต้องใช้ตัวย่อว่า Ml หรือ ML เท่ากับ 1,000,000 ลิตร 3.     ระหว่างตัวเลขและตัวย่อของหน่วย ต้องมีช่องว่างเสมอ จะเขียนติดกันเลยไม่ได้ ถูก :     237 mL         237 ml         50 kg         300 g         3 L ผิด :     237mL         237ml         50kg         300g         3L 4.     ตัวย่อของหน่วยไม่มีรูปเป็นพหูพจน์ คือ ไม่มีการเติม “S” แม้ว่าปริมาณจะมากกว่า 1 ก็ตาม ถูก :     250 ml         20 kg         300 g ผิด :     250 mls     20 kgs         300 gs 5.     ท้ายของตัวย่อไม่มีจุด ถูก :     g     l     kg     ml ผิด :     g.     l.     kg.     ml. เป็นที่น่าสังเกตว่า นักออกแบบฉลากของบรรจุภัณฑ์บางท่านยังใช้ตัวย่อที่ผิด ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ML     ต้องการให้หมายถึง milliliter ผิด     เพราะ ML หมายถึง megalitre ซึ่งมีค่า 1 ล้านลิตร

KG     ต้องการให้หมายถึง kilogram ผิด     เพราะ KG หมายถึง Kelvin-giga Kelvin เป็นหน่วยของอุณหภูมิ ส่วน giga หมายถึง 1 พันล้าน

G ต้องการให้หมายถึง gram ผิด เพราะ G หมายถึง giga ซึ่งเท่ากับ 1 พันล้าน ตัวอย่างตัวย่อของหน่วยที่เขียนผิด และมักพบเห็นบ่อย gm     gms     grm     grms     GM     GM. Kg     Kgs     KG     KGS     ML.     MLS

สำหรับหน่วยในภาษาไทย ท้ายของตัวย่อของหน่วยต้องมีจุดเสมอ ถ้ามีพยัญชนะ 2 ตัว จะไม่มีจุดระหว่างพยัญชนะ เช่น มิลลิลิตร ต้องใช้ตัวย่อว่า มล. ลิตร ต้องใช้ตัวย่อว่า ล. กิโลกรัม ต้องใช้ตัวย่อว่า กก. กรัม ต้องใช้ตัวย่อว่า ก. ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องใช้ตัวย่อว่า 〖ซม.〗^3 มิลลิเมตร ต้องใช้ตัวย่อว่า มม. เซนติเมตร ต้องใช้ตัวย่อว่า ซม.

ในประเทศไทยได้มีกฎหมายเฉพาะที่ควบคุมความสูงของตัวอักษรหรือตัวเลขของปริมาณบรรจุที่ต้องแสดงไว้ที่บรรจุภัณฑ์ทุกหน่วย แม้ว่ากฎหมายนี้จะไม่ใช่เรื่องของหน่วยโดยตรง แต่ก็มีการใช้กับหน่วยของปริมาณบรรจุ จึงขอสรุปมา ณ ที่นี้

กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศเรื่อง “กำหนดชนิดของสินค้าหีบห่อ หลักเกณฑ์ และวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าและอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด” ในปี พ.ศ.2550 ดังสรุปในตารางข้างล่างนี้

การแสดงปริมาณของแต่ละหีบห่อ ปริมาณที่แสดง (กรัม หรือมิลลิลิตร)     ความสูงของตัวอักษรและตัวเลข ต้องไม่น้อยกว่า (มิลลิลิตร) ไม่เกิน 50    2 เกิน 50 แต่ไม่เกิน 200    3 เกิน 200 แต่ไม่เกิน 1,000    4 เกิน 1,000    6

การแสดงปริมาณของหีบห่อรวม ปริมาณที่แสดง (กรัม หรือ มิลลิลิตร)     ความสูงของตัวอักษรและตัวเลข ต้องไม่น้อยกว่า (มิลลิลิตร)

ไม่เกิน 50    3 เกิน 50    6

หลักเกณฑ์ของการใช้ตัวย่อของหน่วยที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งไม่ยาก และน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้าง โดยเฉพาะท่านผู้ประกอบการผลิตสินค้า และนักออกแบบฉลากทั้งหลาย โปรดให้ความสนใจกับการใช้ตัวย่อของหน่วยบนฉลากซึ่งดูเหมือนเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าผิดพลาดขึ้นมาก็คงจะน่าอายเหมือนกัน เพราะข้อความ Product of Thailand และ ชื่อบริษัทของท่าน ซึ่งปรากฏบนสินค้านั้นจะฟ้องตัวเองอย่างชัดเจน

มยุรี ภาคลำเจียก

90,705 views0 comments

Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page